กล้วย ผลไม้เครือ มีผลเป็นหวี กินดิบก็ได้ แปรรูปก็ดี พร้อมประโยชน์สรรพคุณ
ต้นกำเนิด : เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : กล้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa cultivars and hybrids
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bananas
ลักษณะของกล้วย
กล้วย เป็นผลไม้เขตร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อสามัญที่เรียกกันทั่วไปว่ากล้วย
กล้วยภาษาอังกฤษ จะเรียกว่า Banana ลักษณะของกล้วยที่เราสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป ตั้งแต่ส่วนประกอบต่างๆของกล้วย ได้แก่ ต้นกล้วย, ปลีกล้วย, หยวกกล้วย, เครือกล้วย, ใบตอง, หน่อกล้วย เป็นต้น นอกจากนี้ กล้วยยังเป็นผลไม้ที่สามารถนำมาปลูกหรือการขยายพันธุ์ ได้หลากหลายวิธี เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย, การปลูกกล้วยโดยการใช้หน่อกล้วย หรือ แม้แต่การใช้เมล็ดในการปลูก เป็นต้น เพราะเหตุนี้เอง กล้วยจึงเป็นผลไม้ที่มากประโยชน์ และสรรพคุณทางยา อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการ สามารถนำไปใช้ในการแปรรูปกล้วยที่หลากหลาย ซึ่งกล้วยส่วนใหญ่ที่คนไทยรู้จักกัน และเป็นที่นิยมก็ได้แก่ กล้วยหอม, กล้วยหอมทอง, กล้วยน้ำว้า, กล้วยไข่, กล้วยเล็บมือนาง, กล้วยหักมุก เป็นต้น
กล้วย พืชที่มีลักษณะ ไม่มีเนื้อไม้ มีอายุหลายปี มีเหง้า ยอดใหม่เจริญขึ้นเหนือดิน เรียกว่า ลำต้นเทียม ใบเดี่ยว เรียงเวียน แผ่นใบขนาดใหญ่รูปขอบขนาน ช่อดอกออกเพียงช่อเดียวต่อหนึ่งลำต้นเทียม เป็นช่อเชิงลดประกอบ ดอกมีประมาณ 5-15 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 12-20 ดอก เรียงเป็นสองแถวอยู่ภายใต้ใบประดับรูปไข่ปลายแหลมสีแดง ดอกเพศผู้อยู่ที่ปลายช่อ เรียกว่า “ปลี” กลางช่อบางครั้งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกเพศเมียที่โคนช่อเจริญเป็นผลได้โดยไม่มีการผสม รังไข่ใต้วงกลีบ ผลแบบกล้วย ไม่มีเมล็ด ผลแต่ละกลุ่มเรียกว่า “หวี” ผลทั้งช่อเรียกว่า “เครือ”
การขยายพันธุ์ของกล้วย
- กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด
- กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้หน่อ
- กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)
ประโยชน์ของกล้วย
- กล้วยใช้ประโยชน์ในการบริโภค เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ผลสุก กินสดเป็นผลไม้ แปรรูป ผลอ่อนกินเป็นยา ใบตองใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิด ลำต้นของกล้วยใช้ทำเชือกกล้วย กระทง แกนลำต้นเทียมกินเป็นผัก กาบด้านนอกของลำต้นเทียมใช้ทำเชือก กล้วยสามารถนำมามาส์กหน้าได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ลดความหยาบกร้านบนผิวด้วยการใช้กล้วยสุกหนึ่งผลนำมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากันแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
- ใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมต่างๆ และในชีวิตประจำวัน พิธีทางศาสนา เช่น การเทศน์มหาชาติ และการทอดกฐิน มักใช้ต้นกล้วยประดับธรรมาสน์ และองค์กฐิน พิธีทำขวัญเด็ก พิธีแต่งงาน ในการปลูกบ้าน เป็นต้น
สรรพคุณทางยาของกล้วย
ผลกล้วยหอมสุก
-
ลดอาการท้องผูก (Constipation) กล้วยหอมมีเส้นใยอาหารช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกาย ทำงานได้ดีขึ้น
- จุกเสียดแน่นท้อง (Heartburn) กล้วยหอมมีสารลดกรดตามธรรมชาติอยู่ดังนั้นการกินกล้วยก็จะช่วยให้ลดอาการดังกล่าว
- เมาค้าง (Hangovers) วิธีแก้เมาค้างที่เร็ว และดีอีกวิธีหนึ่งก็คือกินกล้วยหอมปั่น banana milkshake โดยการใส่น้ำผึ้งลงไปด้วยด้วยสรรพคุณของน้ำผึ้ง และสารวิตามินในกล้วยจะช่วยให้ ปรับระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และทำให้กระเพาะอาหารอยู่ในสภาวะที่พร้อมทำงานได้เร็วขึ้น
- บรรเทาแผลยุงกัด ก่อนที่จะใช้ยาทาลองใช้เปลือกกล้วยหอมด้านใน ถูตรงบริเวณที่ถูกยุงกัดจะช่วยลดอาการคันหรือบวมได้
- ระบบประสาท (Nerves) วิตามินบีที่มีอยู่มากในกล้วยหอมจะช่วยลดความเครียดหรืออ่อนล้าได้
- ลดความอยากสูบบุหรี่ สำหรับท่านที่ต้องการเลิกบุหรี่กล้วยหอมอาจช่วยท่านได้เพราะมีวิตามิน B6, B12 โปแตสเซียมและแม็กนีเซียมที่มีอยู่มากจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วจากการขาดสา รนิโคติน
- ปรับระดับอุณหภูมิในร่างกาย (Temperature Control) ในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรที่มีอากาศร้อนผู้คนชอบกินกล้วยหอมดับร้อนกันครับ และเชื่อว่ามันเป็นผลไม้เย็นฉ่ำชนิดหนึ่งอย่างเช่นในไทยมีความเชื่อกันว่าผู้หญิงท้องควรกินกล้วยหอมเป็นประจำเพื่อเด็กที่เกิดมาจะมีอารมณ์เยือกเย็น
- แผลในลำไส้และกระเพาะอาหารรวมทั้งผิวหนังพุพองเป็นแผล (Ulcers) สารและเส้นใยในกล้วยหอมช่วยให้การย่อยอาหารของลำไส้เล็กดีขึ้นรวมทั้งกรดต่างๆ ที่มีอยู่ทำให้มีการเคลือบผิวของกระเพาะลดการเป็นแผลในกระเพาะได้
- เสริมสร้างพลังสมอง (Brain Power) ที่อังกฤษในแค้วน Middlesex มีนักเรียนจำนวน 200 คนจาก Twickenham schoolอ้างว่าพวกเขาสอบผ่านเพราะได้กิตกล้วยหอมเป็นอาหารเช้าเขาได้วิจัยพบว่าโปแตสเซียมในกล้วยช่วยนักเรียนให้ตื ่นตัวอยู่เสมอ
- ความดันโลหิต (Blood Pressure) กล้วยหอมมีเกลือโปแตสเซียมเหลืองอยู่เยอะเป็นตัวช่วยความดันเลือดจนกระทั่ง US Food and Drug Administration อนุมัติให้กล้วยหอมยอดผลไม้มีส่วนช่วยลดภาวะความเสี่ยงความดันได้จริง
- pms(premenstrual syndrome) ลดอาการหงุดหงิดสำหรับผู้หญิงก่อนที่จะมีประจำเดือน
- อ้วนจากทำงานมากเกินไป ที่สถาบันจิตวิทยาในออสเตรียได้ศึกษา และพบว่าความเครียดจากที่ทำงานทำให้คนกินช็อกโกแล็ต และพวกโปเต้โต้ชิปส์มากเกินไปทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นจากที่กล่าวมาแล้วถ้ากินกล้วยหอมสักเล็กๆ น้อยๆ ประมาณทุกๆ 2 ชม. มันจะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด และลดการอยากกินของจุกจิก
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย
- ปริมาณต่อ 100 g
- แคลอรี 88 kcal
- ไขมันทั้งหมด 0.3 g
- ไขมันอิ่มตัว 0.1 g
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.1 g
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0 g
- คอเลสเตอรอล 0 mg
- โซเดียม 1 mg
- โพแทสเซียม 358 mg
- คาร์โบไฮเดรต 23 g
- ใยอาหาร 2.6 g
- น้ำตาล 12 g
- โปรตีน 1.1 g
- วิตามินเอ 64 IU
- วิตามินซี 8.7 mg
- แคลเซียม 5 mg
- เหล็ก 0.3 mg
- วิตามินดี 0 IU
- วิตามินบี6 0.4 mg
- วิตามินบี12 0 µg
- แมกนีเซียม 27 mg
การแปรรูปของกล้วย
ปลูกกล้วยกินกันมากขึ้น ผลผลิตกล้วยที่ไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการอาจจะเหลือทิ้ง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ไร้ประโยชน์ จึงควรนำมาแปรรูป เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตด้วย ส่วนต่างๆของกล้วยนำมาทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งหัวปลี หยวกกล้วย ผลทั้งสุกและดิบ ตัวอย่างเช่น กล้วยปิ้ง กล้วยฉาบหรือกล้วยกรอบแก้ว กล้วยแขกหรือกล้วยทอด กล้วยบวชชี กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ขนมกล้วย เค้กกล้วยหอม กล้วยกวน ข้าวเกรียบกล้วย เป็นต้น
รูปภาพจาก : pixabay.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
4 Comments