กระท่อมเลือด
ชื่ออื่นๆ : สบู่เลือด บัวกือ (เชียงใหม่, เพชรบุรี) บัวเครือ (เพชรบูรณ์) บัวบก (กาญจนบุรี,นครราชสีมา) เปล้าเลือดเครือ (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กระท่อมเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stephania venosa (Blume) Spreng.
ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE
ลักษณะของกระท่อมเลือด
ต้น : ไม้เถา มีลำต้นสะสมอาหาร เถาเกลี้ยง มียางสีแดงบริเวณปลายยอด หรือที่ก้านใบ
ใบ : เดี่ยว รูปไข่ ขอบใบเว้าเล็กน้อยทำให้เห็นใบค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ใบกว้าง 7-12 เซนติเมตร ยาว 6-11 เซนติเมตร ฐานใบรูปตัดหรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบตัดหรือมีติ่งเล็กน้อย ท้องใบ มีขนเล็กน้อย และเป็นมันวาวเล็กน้อย มักเห็นเส้นใบเด่นชัด ก้านใบยาว 5-15 เซนติเมตร
ดอก : แยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกเพศผู้ ช่อแบบซี่รม ช่อยาว 4-16 เซนติเมตร มีช่อย่อยเป็นกระจุก ก้านดอกย่อยยาว 1-2 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 6 ยาว 2-2.5 มิลลิเมตร 3 กลีบด้านนอกรูปใบหอกกลับ 3 กลีบด้านในรูป ไข่กลับ โคนเรียวเล็กลง กลีบดอก 3 สีส้ม รูปไข่กลับหรือรูปสามเหลี่ยมกลับ ยาวประมาณ 1.25 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ติดรวมกันที่ก้านมีลักษณะเป็นวงแหวน ก้านชูเกสร ยาว 1-1.75 มิลลิเมตร ช่อดอกเพศเมีย มักจะหนาแน่นกว่า บางช่อค่อนข้างติดกัน ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยง 1 รูปรี ยาว 0.75 มิลลิเมตร กลีบดอก 2 คล้ายรูปไต ยาว 0.75 มิลลิเมตร รังไข่ ค่อนข้างเป็นรูปรี ยาว 1.5 มิลลิเมตร
ผล : แบบเมล็ดเดียวเปลือกเมล็ดแข็ง รูป ไข่กลับ ยาว 7 มิลลิเมตร

การขยายพันธุ์ของกระท่อมเลือด
ใช้กิ่ง/ลำต้น/-
ธาตุอาหารหลักที่กระท่อมเลือดต้องการ
ประโยชน์ของกระท่อมเลือด
ผลนำไปเผาไฟทั้งลูก ประคบแก้ปวด
สรรพคุณทางยาของกระท่อมเลือด
- ราก บำรุงเส้นประสาท
- หัว บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ
- เถา ขับพยาธิ
- ใบ รักษาแผลสดและแผลเรื้อรัง
คุณค่าทางโภชนาการของกระท่อมเลือด
การแปรรูปของกระท่อมเลือด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10935&SystemType=BEDO
www.flickr.com