จามจุรี
จามจุรี ชื่อเรียกอื่นๆ ก้ามกราม, ก้ามกุ้ง, ก้ามปู (ภาคกลาง) ลัง, สารสา, สำสา (ภาคเหนือ) ตุ๊ดตู่ (ตาก) เส่คุ่, เส่ดู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Samanea saman (Jacg.) Merr. เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง แผ่พุ่มกว้างคล้ายร่ม เป็นแบบขนนกสองชั้นออกสลับ เปลือกต้นสีดำเป็นเกล็ดโตแข็งสีเขียวเข้ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกคล้ายใบแค ปลายใบมนแกนกลางใบประกอบและก้านใบประกอบแยกแขนงตรงข้ามกัน บนแขนงมีใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี หรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยง ออกดอกเป็นรวมเป็นกระจุก สีชมพูอ่อน โคนดอกสีขาว ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ผลเป็นฝักแบนยาว ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล เนื้อในนิ่มสีดำ รสหวาน เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม


ประโยชน์ของจามจุรี
- เนื้อไม้ ใช้ในงานแกะสลัก เครื่องเรือน บุผนัง ไม้พื้น เผาถ่าน
- ต้น ใช้เลี้ยงครั่ง ไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน แกะสลัก
- ฝักแก่ เป็นอาหารสัตว์
- ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา
- ต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน

สรรพคุณทางยาของจามจุรี
- ใบ แก้ปวดแสบปวดร้อน
- เมล็ดแก้โรคผิวหนัง
- เปลือกสมานแผลในปากคอ แก้ท้องร่วง
- ใบ ต้มน้ำดื่ม เป็นยาเจริญอาหาร
- แก่น ผสมใบหนาดใหญ่ ลำต้นข่อย พิมเสนและการบูร ต้มน้ำดื่ม แก้หืด
สารพิษที่พบ saponin, saponin และสารพวก albuminoid น้ำตาลและแป้ง
การเกิดพิษ
- หากกินพืชพิษ จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ ถ้าเกิดอาการพิษรุนแรง เนื้อเยื่อที่อยู่ลึกๆ อาจถูกทำลาย กรณีที่มีการดูดซึมสารพิษ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง กระหายน้ำ กังวล ม่านตาขยาย และหน้าแดง พิษที่รุนแรงแสดงออกโดยกล้ามเนื้อไม่มีแรง การประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี สุดท้ายการไหลเวียนของเลือดไม่สม่ำเสมอและอาจถึงชัก
- ถ้าถูกตาจะทำให้เกิดการระคายเคืองและเจ็บปวดที่ลูกตา ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้เกิดอาการ อาเจียน ปวดท้อง ปวดหัว มีไข้ ตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย
การรักษา
- รายที่ไม่มีอาการอาเจียนรุนแรง ให้ล้างท้องทันที
- ให้สารหล่อลื่น เช่น นม หรือไข่ขาว และให้ทานอาหารอ่อนๆ เช่นเดียวกับโรคกระเพาะลำไส้อักเสบ
- ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด เมื่อมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มาก
- ให้คนไข้รับประทานไข่ขาวเพื่อให้อาเจียน และรักษาโรคตามอาการ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9369&SystemType=BEDO
http:// webdb.dmsc.moph.go.th
https://www.flickr.com