พังแหร
ชื่ออื่นๆ : พังแกรใหญ่ (ยะลา) กีกะบะซา (มลายู นราธิวาส) ขางปอยป่า (ภาคเหนือ) ตะคาย (ภาคกลาง) ปะดัง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ปอ (เชียงใหม่) พังแหร (แพร่) ตายไม่ทันเฒ่า (ยะลา) บาเละอางิงิ, กีกะบะซา (มลายู นราธิวาส)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : พังแหร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trema orientalis
ชื่อวงศ์ : ULMACEAE
ลักษณะของพังแหร
ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 4-12 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม
ใบ ใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลาย ใบเรียวแหลม โคนใบไม่สมมาตร ขอบใบจักแบบฟันเลื่อยละเอียด ใบแก่มีสีเหลือง
ดอก สีนวลแกมเขียว ขนาดเล็กออกเป็นช่อสั้นๆ เป็นกระจุกที่ซอกใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกย่อยมีกลีบรวม 5 กลีบ
ผล ลักษณะกลม ขนาด 1-2 มม. สีเขียวเข้ม เมื่อสุก มีสีดำ มีเมล็ดเดียว


การขยายพันธุ์ของพังแหร
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่พังแหรต้องการ
ประโยชน์ของพังแหร
- เปลือกต้นทำเชือกมัดของ
- เนื้อไม้อ่อนใช้สร้างสิ่งก่อสร้างชั่วคราว ใช้ทำอุปกรณ์ในทางเกษตร
สรรพคุณทางยาของพังแหร
- เปลือกต้น เคี้ยวอมไว้นาน 30 นาที แก้ปากเปื่อย เปลือกต้นใช้ทำเชือก
- แก่นหรือราก ฝนน้ำกินเป็นยาเย็น แก้ร้อนในกระหายน้ำ
คุณค่าทางโภชนาการของพังแหร
การแปรรูปของพังแหร
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11759&SystemType=BEDO
www.flickr.com