คันทรง
ชื่ออื่นๆ : ผักหวานทะเล (ภาคกลาง) ก้านเถิง, ผักก้านเถิง (ภาคเหนือ) ก้านตรง ,ผักก้านตรง (ภาคอีสาน)
กะทรง , ทรง (ภาคใต้) เพลโพเด๊าะ (กะเหรี่ยง)
ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชีย ประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศโดย เฉพาะภาคเหนือจะพบได้มากกว่าภาคอื่น และจะพบได้ตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Colubrina asiatica (L.) Brongn.
ชื่อวงศ์ : Rhamnaceae
ลักษณะของคันทรง
ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ลำต้นตั้งตรงสูง 2-9 เมตร เปลือกต้นสีเขียวเข้มเป็นมัน มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ถี่ ๆ และมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่างๆ โดยมักจะแตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้นกิ่งก้านมีสีเขียวลักษณะเส้นกลม
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกกว้าง รูปไข่กว้าง หรือรูปหัวใจ กว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร ส่วนปลายใบมีลักษณะเรียวแหลม โคนใบมนหยักเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยักมนแกมจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบบาง หลังใบเรียบเป็นมันมีสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบเป็นมันสีเขียวอ่อนกว่าหลังใบ มีขนที่เส้นใบ โดยมีเส้นใบ 3 เส้นออกจากโคนใบ ส่วนอีก 3-4 เส้นออกจากเส้นกลางใบ และมีก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ ตามกิ่งก้าน โดยจะออกเรียงเป็นแถวเป็นช่อเล็ก ๆ มีขนาดยาว 1 เซนติเมตร ส่วนดอกย่อยมี8-14 ดอก/ช่อ ขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบรูปไข่กลับมีสีเหลืองแกมเขียว มีก้านดอกย่อยยาว 2-3 มิลลิเมตร สำหรับดอกย่อยจะประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ 2-3 ดอก และดอกตัวผู้หลายดอกเมล็ด ลักษณะแบน ขนาดเล็ก ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลเทา มี 3 เมล็ดใน 1 ผล
ผล ผลเป็นผลเดี่ยว ลักษณะเป็นผลสดรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ปลายผลเว้าเข้าแบ่งออกเป็นพู 3 พูมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-0.6 เซนติเมตร ผลดิบมีสีเขียวและเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดจำนวน 3 เมล็ด ที่ขั้วผลมีวงกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ โดยผลจะเรียงห้อยลงเป็นแถวๆตามกิ่ง

การขยายพันธุ์ของคันทรง
การใช้เมล็ด และการปักชำลำต้น
ธาตุอาหารหลักที่คันทรงต้องการ
ประโยชน์ของคันทรง
- ใบอ่อนและยอดอ่อนนำมาลวกหรือ ใช้รับประทานสดๆ เป็นผักจิ้ม น้ำพริก เช่น น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกตาแดง หรือใช้นำมาผัดกับน้ำมันหอย ใช้ทำแกงส้ม แกงเลียง นำมาใส่ในแกงแคร่วมกับผักอื่น ๆ นำใส่ในแกงขนุน ทำแกงผักคันทรงกุ้งสดก็ได้
- ผลใช้เป็นยาเบื่อปลา

สรรพคุณทางยาของคันทรง
- ราก รสฝาดเฝื่อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ น้ำเหลืองเสีย แก้บวมโดยใช้รากมาฝนผสมน้ำมะพร้าวดื่ม
- ใบ ปรุงยาต้มทาบรรเทาอาการระคายเคืองที่ผิว และรักษาโรคผิวหนังบางชนิด
- เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน ต้มน้ำอาบแก้เม็ดผื่นคัน แก้บวมทั้งตัว เนื่องจากโรคไตหรือโรคหัวใจพิการ แก้น้ำเหลืองเสีย และเหน็บชา แก้เม็ดผื่นคัน
- ส่วนตำรายาพื้นบ้านอีสานใช้ ราก แก้บวม ตานขโมย (โรคพยาธิในเด็ก มีอาการซูบผอม อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีอาการท้องเสีย) ส่วนใน ประเทศมาเลเซียใช้ ต้น แก้โรคกระเพาะอาหาร ใบ ช่วยเจริญอาหาร แก้อาการแพ้ ผื่นคัน โรคผิวหนังอักเสบ ฝี น้ำมันจากเมล็ด แก้ไข้ บรรเทาปวด รักษาโรคข้อรูมาติก แก้อาการชา แก้ปวดตามตัว และศีรษะ
คุณค่าทางโภชนาการของคันทรง
การแปรรูปของคันทรง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10763&SystemType=BEDO
www.flickr.com