ชุมเห็ดไทย
ชื่ออื่นๆ : เล็บมื่นน้อย , ลับมือน้อย (ภาคเหนือ) , ชุมเห็ดควาย , ชุมเห็ดควาย , ชุมเห็ดนา , ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง) , พรมดาน พราดาน (ลุโขทัย) ,หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี) , หน่อย หน่าหน่อ , กิเกีย (กะเหรี่ยง) ,เจี๋ยหมิงจื่อ , เอียฮวยแซ , ก๊วกเม้ง (จีน)
ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : Foetid cassia, Sickle senna
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna tora (L.) Roxb.
ชื่อวงศ์ : Leguminosae
ลักษณะของชุมเห็ดไทย
เป็นไม้ล้มลุกและไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก พุ่มต้นสูงประมาณ1 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.3-17.4 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลแดง ไม่มีขน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 3 คู่ รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 2-4 ซม. ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อดอกที่ซอกใบ เป็นกระจุก ดอกเดี่ยวมีก้านช่อดอกออกจากจุดเดียวกัน ช่อดอกยาว 2.71-4.03 เซนติเมตร มี 1-3 ดอกต่อช่อ มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลืองมีขนครุยตามขอบ อับเรณู (anther) สีเหลืองอมน้ำตาล ผลเป็นฝักเล็กแบนยาว เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สีน้ำตาลแกมเขียว

การขยายพันธุ์ของชุมเห็ดไทย
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ชุมเห็ดไทยต้องการ
ประโยชน์ของชุมเห็ดไทย
สรรพคุณทางยาของชุมเห็ดไทย
เป็นยาช่วยให้นอนหลับและช่วยสงบประสาทได้เป็นอย่างดี
- เมล็ด ทำให้ง่วงนอนและหลับได้ดี แก้กระษัย ขับปัสสาวะพิการได้ดี เป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคผิวหนัง
- ดอก ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับพยาธิในท้องเด็ก รับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ และแก้ไอ แก้เสมหะ แก้หืด คุดทะราด
- ผล แก้ฟกบวม
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » เมล็ดชุมเห็ดไทยมีสารประเภท”แอนทราควิโนน” อยู่ด้วยเช่น Aloe-emodin,Chrysophanol,rhein สารแอนทราควิโนนมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยกระตุ้นทำให้ลำไส้ใหญ่เกิดการบีบตัว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาพิษเฉียบพลันพบว่าไม่มีพิษ
วิธีใช้ » ใช้เป็นยารักษาอาการท้องผูก ใช้เมล็ดแห้งเอามาคั่วให้หอม ใช้ 2 ช้อนโต๊ะ ต้มชงกับน้ำดื่ม แต่ถ้าดื่มแล้วจะมีอาการง่วงนอนได้ อาการขับเบา ช่วยขับปัสสาวะได้ ใช้เมล็ดแห้งคั่วให้หอมเสียก่อน ชงดื่มกับน้ำต้มเดือดในปริมาณ1-3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 487 มิลลิลิตร

คุณค่าทางโภชนาการของชุมเห็ดไทย
การแปรรูปของชุมเห็ดไทยhttps://www.flickr.com
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10602&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment