ช้องนาง พรรณไม้พุ่มเตี้ย ดอกสีม่วงเข้มป็นหลอด พรรณไม้ในวรรณคดี
ชื่ออื่นๆ : ช้องนางเล็ก, ช้องนางใหญ่
ต้นกำเนิด : แอฟริกาตะวันตก
ชื่อสามัญ : Bush Clockvine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia affinis S. moore
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะของช้องนาง
ต้นช้องนาง เป็นพรรณไม้พุ่มเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขามากมายลำต้นสูงประมาณ 6 ฟุต
ใบช้องนาง ใบจะคล้ายใบแก้ว ออกจะเป็นคู่ ๆ เรียงไปตามกิ่งของล้ำตน ลักษณะของใบมนปลายแหลม กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีสีเขียว โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวสด ก้านใบสีแดง
ดอกช้องนาง รูปทรงของดอกเป็นรูปแตร มีสีม่วงเข้มแต่พันธุ์สีขาวหายากกว่าพันธุ์สีม่วง มีอยู่ 5 กลีบตรงกลาง ดอกเป็นสีเหลืองดอกบานเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร
ฝัก/ผลช้องนาง เป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อแก่มีสีน้ำตาล แตกได้

การขยายพันธุ์ของช้องนาง
ช้องนางใช้กิ่ง/ลำต้น/วิธีการขยายพันธุ์ที่ง่ายที่สุดก็คือการปักชำ แค่ตัดเป็นท่อน ริดใบออกให้หมด จุ่มน้ำยากันเชื้อราและเร่งรากก่อนปล่อยไว้ให้แห้งหมาด แล้วก็เสียบลงกระถางชำ รดน้ำให้ชุ่มวันละครั้ง แต่ถ้ารดเช้า-เย็นได้ยิ่งดีเพราะต้นไม้ตัวนี้ชอบความชุ่มชื้น
ธาตุอาหารหลักที่ช้องนางต้องการ
–
ประโยชน์ของช้องนาง
ช้องนางเป็นไม้ประดับ
สรรพคุณทางยาของช้องนาง
ดอกช้องนาง จะมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่เป็นสีขาวกับสีม่วง นิยมปลูกประดับตามบ้าน สำนักงาน หรือสวนสาธารณะมาช้านาน ปัจจุบันพบว่ามี “ช้องนางดอกด่าง” วางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โดยดอก จะมีความแตกต่างไปจาก 2 ชนิดพันธุ์ที่กล่าวข้างต้นคือ ในดอกเดียวจะมีสีเป็น 2 สี คือ สีขาวและสีม่วง ดูสวยงามแปลกตาน่ารักมาก จึงกำลังเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

คุณค่าทางโภชนาการของช้องนาง
–
การแปรรูปของช้องนาง
–
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับช้องนาง
References : www.bedo.or.th
รูปภาพจาก : www.bloggang.com, ss-botany.org
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม