ขันทองพยาบาท
ชื่ออื่นๆ : กระดูก ยายปลวก (ภาคใต้) ขนุนดง (เพชรบูรณ์) ขอบนางนั่ง (ตรัง) ขัณฑสกร ช้องรำพัน สลอดน้ำ (จันทบุรี) ขันทอง (พิจิตร) มะดูก หมากดูก (ภาคกลาง) ข้าวตาก ขุนทอง คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์) โจ่ง (สุรินทร์) ดูกไทร ดูกไม้ เหมือดโลด (เลย) ดูกหิน (สระบุรี) ดูกไหล
ต้นกำเนิด : เขตร้อนของทวีปเอเชียบริเวณเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : ขันทองพยาบาท
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suregada multiflora (A.Juss.) Baill.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะของขันทองพยาบาท
ต้น ไม้พุ่ม ไม้ต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ สูง 3-7 เมตร เรือนยอดรูปไข่ ทึบ เปลือกนอกสีเทา เปลือกเรียบ เปลือกในสีขาว
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบแหลมหรือมน ฐานใบสอบหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ใบแก่ก่อนร่วงสีแดงหรือสีเหลือง กิ่งอ่อนจะเกลี้ยง มีรอยแผลใบ เป็นรอยควั่นรอบกิ่ง
ดอก ดอกเป็นกระจุกซ้อน ออกตามง่ามใบ แต่ละกระจุกมี 1-12 ดอก ดอกสีเขียวอ่อน เหลืองอ่อน ดอกเป็นแบบแยกเพศต่างต้น กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม
ผล ผลสดแบบมีเนื้อ ผลกลมเกลี้ยง เมื่อแก่มีสีเหลือง ผลเป็น 3 พู เมื่อแก่แตกเป็น 3 เสี้ยว ผลแก่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน

การขยายพันธุ์ของขันทองพยาบาท
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ขันทองพยาบาทต้องการ
ประโยชน์ของขันทองพยาบาท
เนื้อไม้ ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ภายในครัวเรือน
ปลูกไม้ประดับตามสวนสาธารณะหรือตามสถานที่ต่างๆ ให้มีร่มเงา
สรรพคุณทางยาของขันทองพยาบาท
ราก รสเมาเบื่อร้อน แก้ลม แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง รักษาน้ำเหลืองเสีย
เนื้อไม้ ใช้แก้ลมพิษ แก้กามโรค
เปลือกต้น เป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน ใช้เป็นยาบำรุงเหงือก ทำให้ฟันทน เป็นยาถ่ายและฆ่าพยาธิ รักษาโรคปวดไขข้อ

คุณค่าทางโภชนาการของขันทองพยาบาท
การแปรรูปของขันทองพยาบาท
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12098&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com