ผักชีลาว
ชื่ออื่นๆ : ผักชีเมือง (น่าน), ผักชีเทียน ผักชีตั๊กแตน (พิจิตร), ผักชี (เลย, ขอนแก่น), เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Dill
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anethum graveolens L.
ชื่อวงศ์ : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE
ลักษณะของผักชีลาว
ผักชีลาวเป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักชี ลำต้นมีสีเขียวเข้มขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนกมีสีเขียวสดออกเรียงสลับกัน ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกมีลักษณะคล้ายกับซี่ร่ม ผลแก่เป็นรูปไข่แบนมีสีน้ำตาลอมเหลือง ถ้านำไปใช้เป็นเครื่องเทศจะเก้บได้ก้ต่อเมื่อดอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่จะพบในรูปของการทานสดเป็นผักมากกว่า ซึ่งควรเก็บก่อนที่จะออกดอก ผักชีลาวมีสองชนิด คือ ชนิดที่มาจากยุโรป (Dill) และชนิดที่มีกำเนิดในเอเชียเขตร้อน (Indian Dill) ในประเทศไทยมีการปลูกเพื่อใช้ทานเป็นผักมากกว่าปลูกเพื่อใช้ผลมาทำเครื่องเทศเพราะมีคุณภาพน้อยกว่าประเทศอินเดีย

การขยายพันธุ์ของผักชีลาว
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ผักชีลาวต้องการ
ประโยชน์ของผักชีลาว
- ผลหรือเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหย นำมาผลิตใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น สบู่ โลชั่นบำรุงผิว เป็นต้น (ผล)
- ใบนิยมนำมาใส่แกงอ่อม แกงหน่อไม้ ห่อหมก น้ำพริกปลาร้า ผักชีลาวผัดไข่ ยอดของใบใช้รับประทานกับลาบและยังช่วยชูรสชาติอาหารอีกด้วย (ใบ)
- ผลนิยมนำมาบดโรยบนมัใบนิยมนำมาใส่แกงอ่อม แกงหน่อไม้ นฝรั่งบดหรือสลัดผักเพื่อช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร (ผล)
- ใบสดและแห้งนิยมนำมาโรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อช่วยดับกลิ่นคาว (ใบ)
- น้ำมันผักชีลาวนำมาใช้แต่งกลิ่นผักดอง สตูว์ น้ำซอส ของหวาน และเครื่องดื่มรวมไปถึงเหล้าด้วย (น้ำมันผักชีลาว)
สรรพคุณทางยาของผักชีลาว
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก ช่วยในการชะลอวัย
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับตาต่าง ๆ (เพราะมีวิตามินเอสูงมาก)
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (มีแคลเซียมสูง)
- ใช้เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราว (ผลแก่)
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง
- ช่วยยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (เบตาแคโรทีน)
- ช่วยขยายหลอดเลือด
- ช่วยบำรุงปอด (ผล)
- ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
- ช่วยกระตุ้นการหายใจ
- แก้หอบหืด (ผล)
- ช่วยแก้อาการไอ (ผล)
- ช่วยแก้อาการสะอึก (ผล)
- ช่วยเพิ่มปริมาณของน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตร (ใบ)
- ช่วยลดอาการโคลิค (Baby colic) หรืออาการ “เด็กร้องร้อยวัน” ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด (ใบ)
- ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม (ผล)
- ช่วยส่งเสริมการทำงานของกระเพาะอาหาร (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว (ผลแก่)
- ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว หรือจะใช้ต้นสดนำมาผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้อาการก็ได้เช่นกัน (ผลแก่)
- แก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 50 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำจนข้นแล้วรับประทาน (ต้นสด)
- ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว (ผลแก่)
- ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบสดหรือยอดอ่อนนำมาต้มกินเป็นอาหาร (ใบ)
- แก้อาการปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 50 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ)
- ช่วยรักษาไส้ติ่งอักเสบ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำกิน (ต้นสด)
- ช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝีวันละ 2 ครั้ง (ใบ)
- ช่วยแก้อาการบวม (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้เหน็บชา (ทั้งต้น)
- ช่วยทำให้ง่วงนอน (ผล)
คุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาว
การแปรรูปของผักชีลาว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1697&code_db=610010&code_type=01
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7
https://www.flickr.com