พะยูง
ชื่ออื่นๆ : กระยูง, กะยง (เขมร สุรินทร์) ขะยุง (อุบลราชธานี) แดงจีน (กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ประดู่ลาย (ชลบุรี) ประดู่แสน (ตราด) พะยูงไหม (สระบุรี) หัวลีเมาะ (จีน) ประดู่ตม (จันทบุรี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Siamese Rosewood, Thailand Rosewood, Tracwood, Black Wood, Rose Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะของพะยูง
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ12-20 เมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลคล้ำแตกสะเก็ดและเป็นแผ่นบาง ๆ
ใบ ใบออกกันเป็นช่อยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใบรวมมีใบย่อยประมาณ 6-10 ใบ ใบรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบพื้นใบสีเขียว ใบมีขนาดความยาว 23 นิ้วกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว
ดอก ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกตามปลายกิ่งมีสีเหลืองอ่อนหรือขาว ดอกมีขนาดเล็ก
ผล ผลเป็นฝักแบนยาวผิวเกลี้ยง ฝักยาวประมาณ 46 เซนติเมตรกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดคล้ายเม็ดถั่ว


การขยายพันธุ์ของพะยูง
ใช้เมล็ด
นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1:2 ผสมดินปลูกถ้าปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านหรืออาคารควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะพยุงเป็น
ไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่
ธาตุอาหารหลักที่พะยูงต้องการ
ประโยชน์ของพะยูง
- เป็นไม้ประดับ
- เนื้อไม้ เนื้อละเอียด สีน้ำตาลก่อน แก่สีแดงอมม่วง หรือสีม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วสีดำ เป็นเสี้ยนสน เหนียว แข็งทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆ เครื่องแกะสลัก หวี ไม้เท้า และด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ ทำเครื่องดนตรี เช่น ขลุ่ย ซอ ลูกระนาด
- ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นพยุงไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความเจริญความมั่นคงเพราะพยูงหรือพยุงคือการช่วยพยุงให้คงอยู่ให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความสง่า เพราะโบราณได้เปรีบเทียบไว้ว่ายูงยางสูงสว่าโดดเด่นเห็นตระการตา คือ มีความสว่าในตัวเอง ซึ่งคล้ายกับความสว่าของนกยูง ซึ่งเป็นสัตว์ชั้นสูงชนิดหนึ่ง และยังมีคนโบราณบางคนได้กล่าวไว้ว่าพยุงหรือกระยงก็คือกระยงคงกระพันได้อีกแง่หนึ่งเช่นกันทั้งนี้เพราะโบ่ราณถือว่าเนื้อไม้ของพยุงเป็นไม้ที่แข็งแกร่งและมีอิทธิฤทธิ์พอสมควร

สรรพคุณทางยาของพะยูง
- เปลือกต้นหรือแก่น ผสมแก่นสนสามใบ แก่นแสมสาร และแก่นขี้เหล็ก ต้มน้ำดื่มแก้มะเร็ง ผสมลำต้นหวาย ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน
คุณค่าทางโภชนาการของพะยูง
การแปรรูปของพะยูง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11866&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment