มะขวิด
ชื่ออื่นๆ : มะฝิด (อีสาน) มะฟิด (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และอินโดจีน
ชื่อสามัญ : Wood apple , Kanath
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Feronia limonia (L.) Swingle
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะของมะขวิด
ต้น เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง อยู่ในกลุ่มไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงถึง 12 เมตร กิ่งแขนงมีหนามเรียวแหลมตรง ยาว 4 เซนติเมตร
ใบ ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ ใบออกตรงข้าม มี 2-3 คู่ รูปไข่กลับ ยาวถึง 4 ซม. ก้านใบและก้านใบย่อยมีปีกแคบ ๆ ยาวถึง 12 เซนติเมตร มีจุดต่อมน้ำมัน มีกลิ่นอ่อน ๆ เมื่อขยี้
ดอก ช่อดอกออกปลายยอดหรือซอกใบ มีทั้งดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศ มี 5 กลีบ สีขาวครีมแกมเขียว ชมพูหรือแดงเรื่อ ๆ อยู่กันหลวม ๆ ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน
ผล ผลเปลือกแข็ง รูปกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวเป็นขุยสีออกขาวปนสีชมพู มีเนื้อมาก กลิ่นหอม มีเมือกหุ้มเมล็ด เมล็ดยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร เปลือกหนา มีขน ออกผลในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม

การขยายพันธุ์ของมะขวิด
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะขวิดต้องการ
ประโยชน์ของมะขวิด
- ต้นมะขวิดใช้ปลูกเพื่อปรับภูมิทัศน์เพื่อความสวยงาม เหมาะสำหรับปลูกในส่วนสาธารณะ เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงาม เจริญเติบโตได้เร็วและแข็งแรง
- ผลเป็นอาหารของนก
- เนื้อไม้ของต้นมะขวิดเป็นเนื้อไม้แข็ง สามารถนำมาใช้ในงานช่างได้

สรรพคุณทางยาของมะขวิด
- ผล ใช้เป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
- ใบ มีกลิ่นหอม นำใบสดไปกลั่นด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันหอม เป็นยาขับลมและเป็นยาฝาดสมาน
- ใบ นำมาตำใช้พอกหรือทาแก้อาการฟกบวม ปวดบวม ช่วยรักษาฝี และโรคผิวหนังบางชนิดได้
- ยาง มีสารจำพวก แทนนินเป็นยาโรคท้องร่วงและห้ามเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของมะขวิด
การแปรรูปของมะขวิด
ผลมะขวิดใช้รับประทานสด และยังสามารถนำไปทำเป็นน้ำผลไม้และแยมได้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11834&SystemType=BEDO
www.flickr.com