ส้มเสี้ยว
ชื่ออื่นๆ : คังโค (สุพรรณบุรี) แดงโค (สระบุรี) ป้าม (ส่วย-สุรินทร์) ส้มเสี้ยว (ภาคเหนือ) เสี้ยวส้ม (นครราชสีมา) เสี้ยวใหญ่ (ปราจีนบุรี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : เสี้ยวใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia malabarica Roxb
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะของส้มเสี้ยว
ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 3-15 เมตร
ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับใบรูปเกือบกลมปลายใบเว้าเป็น 2 พูกลมกว้างปลายเว้ากว้าง โคนใบตัดหรือรูปหัวใจ
ดอก ดอกสีขาวอ่อนอมเขียว เป็นช่อเชิงหลั่นประกอบห้อยลง กลีบเลี้ยงรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงกระบอกรูปกรวย สีเขียวปลายแยกเป็นห้าแฉกโดยเรียงเป็นสามกลุ่มๆ ละสองกลีบ 2 กลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งมี1กลีบกลีบเลี้ยงค่อนข้างตั้งกลีบดอกแยกรูปหอกโคนสอบปลายแหลมหรือติ่งมนกลีบตั้งโคนกลีบสีเขียว
ผล ผลเป็นฝักไม่แตกผิวเกลี้ยงมีเมล็ด 10-30 เมล็ด

การขยายพันธุ์ของส้มเสี้ยว
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ส้มเสี้ยวต้องการ
ประโยชน์ของส้มเสี้ยว
- เมล็ดอ่อน รสหวาน รับประทานได้
ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอก รสเปรี้ยว ชาวอีสานนิยมกินเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ แจ่ว หรืออาหารรสจัด - ใบใช้ประกอบอาหารมีรสเปรี้ยว ประเภทแกงส้ม (จากการสัมภาษณ์และจัดประชุมผู้รู้ในชุมชน)

สรรพคุณทางยาของส้มเสี้ยว
- ตำรายาโบราณ ใบส้มเสี้ยว มีสรรพคุณ ขับโลหิตระดู ขับปัสสาวะ
- ตำรายาไทยใช้ ตำทารักษาแผลเปื่อย ห้ามเลือด ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย ฟอกเลือด ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้บิด
คุณค่าทางโภชนาการของส้มเสี้ยว
การแปรรูปของส้มเสี่ยว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9302&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com