แกงเหงาหงอด อาหารประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับ 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ปี 2566

แกงเหงาหงอด

แกงเหงาหงอด
เมนูแกงเหงาหงอด

แกงเหงาหงอด ได้รับคัดเลือกให้เป็นอาหารประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมนูอาหารประจำจังหวัดหรืออาหารประจำถิ่น ตามการดำเนินการจัดกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้โครงการการส่งเสริม และพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามประกาศของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566

แกงในตำรับอาหารกรุงศรีอยุธยามีชื่อแกงแปลกหูอยู่ชื่อหนึ่งชื่อว่า “แกงเหงาหงอด” เป็นอาหารสุขภาพสมัยเจ้านายในสมัยกรุงศรีอยุธยา นิยมเสวยในมือเช้า เป็นตัวแทนของอาหารในสมัยอยุธยาที่มีหลักฐานว่าได้รับอิทธพลมาจากซุปของโปรตุเกส “เหงาหงอด” สันนิฐานว่าอาจเป็นชื่อที่คล้องจองกับอาหารของโปรตุเกส มีลักษณะคล้ายแกงส้ม ปรุงรสแบบพริกแกงส้ม มีพริกชี้ฟ้าสีเหลือง พริกสีแดง หอมแดง กระเทียม มาผสมกับกะปิของบ้านเรา

วันนี้เกษตรตำบลมีวิธีทำแกงเหงาหงอด มาฝากกันค่ะ เรามาดูส่วนผสมและวิธีทำกันเลยค่ะ

ส่วนผสมแกงเหงาหงอด

  1. พริกแห้งแกะเม็ดแช่น้ำ
  2. พริกชี้ฟ้าเหลือง
  3. กระเทียม
  4. หอมแดง
  5. กระชาย
  6. เกลือ
  7. กะปิ
  8. ปลาสด (ปลาเนื้ออ่อน,ปลาน้ำดอกไม้)
  9. โหระพา
  10. ฟักแฟงหรือแตงโมอ่อนหรือน้ำเต้า

พริกแกงเหงาหงอด

นำพริกแห้ง พริกชี้ฟ้าเหลือง กระเทียม หอมแดง กระชาย กะปิโขลกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน

วิธีทำแกงเหงาหงอด

  1. ใส่น้ำตั้งไฟพอให้เริ่มเดือด ให้นำพริกแกงมาละลาย

    พริกแกง
    ใส่พริกแกงลงไปละลาย
  2. เมื่อพริกแกงละลายแล้ว ให้กรองเอาแต่น้ำ จะได้น้ำแกงเนื้อเนียน

    กรองเอาแต่น้ำ
    กรองน้ำแกงเอาแต่น้ำ
  3. นำน้ำแกงที่กรองแล้ว เทใส่ในหม้อแล้วต้มให้เดือด ใส่แตงโมอ่อน เพื่อเพิ่มความหวานให้กับน้ำแกง

    ต้มให้เดือด
    ใส่แตงโมอ่อนลงไป
  4. จากนั้นใส่เนื้อปลาลงไป ต้มจนเนื้อปลาสุก ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำมะกรูด เกลือ และใบโหระพาลงไป

    ใส่โหระพา
    ใส่โหระพาลงไป
  5. ตักใส่ถ้วยพร้อมเสิร์ฟ

เป็นยังไงกันบ้างค่ะกับวิธีทำแกงเหงาหงอด ยังไงแล้วลองทำกันดูได้นะค่ะ หรือหากได้มาเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็สามารถหาเมนูนี้ทานกันได้ค่ะ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.youtube.com (สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

One Comment

Add a Comment