กระดูกกบ
ชื่ออื่นๆ : กงกาง (พิษณุโลก, เชียงราย) กงกางเครือ (ภาคกลาง, นครราชสีมา) กงเกง, ขงเข็ง, ขาเปีย, จะก๊า, จ๊าเปื๋อย, ตีนตั่งลม (ภาคเหนือ) กระดูกกบ, กระดูกแตก, กระพัดแม่ม่าย (ภาคกลาง) โกงกาง (สระบุรี) ควายแก่ร้องไห้, เปือยเครือ (นครราชสีมา) คอแร้ว (ประจวบคีรีขันธ์) เครือขาเปีย (แพร่)
ต้นกำเนิด : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : กระดูกกบ Hymenopyramis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hymenopyramis brachiata Wall ex Schauer
ชื่อวงศ์ : LABIATAE
ลักษณะของกระดูกกบ
ต้น ไม้พุ่มรอเลื้อยโคนต้นมีหนามแข็ง กิ่งตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม มีขนสั้นๆ สีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น
ใบ ใบเดี่ยวเรียงคู่ตรงข้าม สลับตั้งฉาก แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ผิวด้านบนเกลี้ยง หรือมีขนเล็กน้อย ตามเส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนสั้นๆสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น
ดอก ดอกช่อออกตามซอกใบและกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีขาว
ผล ผลค่อนข้างกลมผิวแข็ง มีกลีบเลี้ยงที่ขยายให้เชื่อมติดกันเป็นถุง สี่เหลียมสีเขียวอ่อนหุ้มอยู่
การขยายพันธุ์ของกระดูกกบ
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/-
ธาตุอาหารหลักที่กระดูกกบต้องการ
ประโยชน์ของกระดูกกบ
สรรพคุณทางยาของกระดูกกบ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้เปลือกต้นหรือแก่นต้มน้ำดื่มแก้โรคไตพิการ
คุณค่าทางโภชนาการของกระดูกกบ
การแปรรูปของกระดูกกบ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10338&SystemType=BEDO
www.flickr.com